วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องเป่า

ขลุ่ย
        เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่ไม่มีลิ้น ทำด้วยไม้รวกที่มีปล้องยาวๆ ใช้ไฟย่างให้แห้งและตบแต่งเป็นลวดลาย นอกจากนั้นก็อาจใช้วัสดุอื่นๆ มาทำแทนก็ได้ เช่น ไม้จริง งา พลาสติก ขลุ่ยที่นิยมใช้ตามสถาบันการศึกษามากที่สุดนั้น ได้แก่ ขลุ่ยที่ทำจากพลาสติก คงจะเป็นเพราะว่ามีราคาไม่แพง และคงทนอีกด้วย
บนลาขลุ่ยด้านหน้าจะเจาะรูกลมๆ เรียงกันเป็นแถวทั้งหมด 7 รู เพื่อสำหรับใช้นิ้วปิดเปิดทำให้เปลี่ยนระดับเสียงได้ตามต้องการ ขลุ่ยจะมี “ ดาก” ใช้แทนลิ้น ดากจะปิดตรงส่วนบนเว้นช่องสำหรับเป่าให้ลมผ่านเข้าไป ขลุ่ยจะมีรูปากนกแก้ว รูปากนกแก้วจะเจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหลังใต้ดากลงมา แต่ปาดให้มีลักษณะเฉียงไม่เจาะทะลุและจะไม่เกิดเสียงถ้าอุดรูปากนกแก้ว ถัดลงมาจากรูปากนกแก้วจะเจาะอีก 1 รู เรียกรูนี้ว่า รูนิ้วค้ำ รูนิ้วค้ำเป็นส่วนที่เวลาเป่าจะต้องใช้นิ้วหัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ และเจาะรูอีกรูหนึ่ง รูนี้จะอยู่เหนือรูนิ้วค้ำทางด้านหลัง และเหนือรูบนของรูบนของรูด้านหน้าทั้ง 7 รู แต่อยู่ด้านข้างเรียงว่า รูเยื่อ จำนวนรูทั้งหมดที่อยู่บนเลาขลุ่ยจะมีทั้งหมด 13 รู แต่รูที่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างของเสียงจะมีอยู่ 9 รู 
ขลุ่ยที่นำมาใช้ผสมอยู่ในวงดนตรีไทยในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
- ขลุ่ยหลิบ เป็น ขลุ่ยขนาดเล็กยาวประมาณ 36 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ขลุ่ยหลีบจะมีเสียงแหลมสูง เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในจำพวกเครื่องนำใช้ผสมอยู่ในวงเครื่องสายเครื่อง คู่ วงเครื่องสายปี่ชวา วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่
- ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยขนาดกลางมีเสียงมาตราฐานใช้เทียบเสียงดนตรีไทย ยาวประมาณ 45-48 เซนติเมตร
- ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร
    ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ขลุ่ยขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งเรียก ว่า "ขลุ่ยกรวด" ขลุ่ยชนิดนี้มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียวออ 1 เสียง ใช้เล่นร่วมกับวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่งร่วมด้วย เช่น วงเครื่องสายผสมไวโอลิน วงเครื่องสายผสมโอแกน

ขลุ่ยในแบบต่างๆ


 การประชันขลุ่ย ในเพลงขอร้อง ของแดน วรเวช

สังข์         เป็นหอยทะเลชนิดหนึ่งเปลือกขรุขระต้องเอามาขัดใหเเกลี้ยงเกลาเสียก่อน แล้วเจาะก้นหอยให้ทะลุเป็นรูเป่า ไม่มีลิ้น ต้องเป่า
ด้วยริมฝีปากของตนเองปรากฎว่า นำมาใช้เป้นเครื่องเป่ากันแต่ดึกดำบรรพ์ และนับถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีนิยายเล่ากันว่ามีอสูรตนหนึ่งชื่อ
ปัญจชน มีรูปเป็นสังข์อาศัยอยู่ในท้องทะเล พระนารยณ์อวตารลงมาปราบและฆ่าอสูรตนนั้นตาย จึงเปลือกสังข์นั้นมามาเป้นเครื่องเป่าแตร
ในวรรณกรรมอินเดียโบราณมักจะกล่าวถึงว่า สังข์ใช้เป่าทั้งในงานสงครามและในงานมงคลพิธี ปัจจุบันนี้พวกคนขอทานได้นำไปใช้ และ
เมื่อมีงานพิธีตามเทวสถาน เขาใช้เป่าสังข์เป็นสัญญาณเปิดหรือเริ่มงานหรือใช้เป่าเป็นเครื่องประกอบการ บรรเลงในเทวสถานด้วย ในคัมภีร์
ปฐมสมโพธิ์กล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้ามีชัยชนะมาร พระอินทร์นำวิชยุตตรมหาสังข์มาเป่า ไทยเราคงจะได้แบบอย่างในการใช้สังข์เป่าใน
งานราชพิธีมาแต่อินเดียทั้งถือเป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์ ใช้แต่ในงานที่มีเกรียติสูง ร่วมกับแตรงอนและแตรฝรั่ง  


 เครื่องเป่า สังข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น